วันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558




บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 6
วันพฤหัสบดี ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.


กิจกรรม

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กกพิเศษ
ทักษะทางสังคม
           เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อแม่ สภาพแวดล้อมไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข

กิจกรรมการเล่น
           การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทกษะทางสังคม เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ ช่วงแรๆ เด็กพิเศษจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน แต่จะมองเป็นสิ่งสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง

ยุทธศาสตร์การสอน
           เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีการเล่น ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง ครูสังเกตแล้วจดบันทึก ทำแผน IEP

การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
          วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง ควรคำนึงถึงเด็กทุกคน ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน "ครู" ให้เด็กพิเศษ

ครูปฏิบัติอย่างไรเวลาเด็กเล่น
           อยู่ใกล้ๆแล้วเฝ้ามองอย่างสนใจ ยิ้มและพยักหน้าให้เวลาเด็กหันมามองครู ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม

การให้แรงเสริมทางสังคในบริบทที่เด็กเล่น
           ครูพูดชักชวนให้เด็กเล่นร่วมกับเพื่อน ทำโดย "การพูดนำของครู"

ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
           ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ ให้โอกาสเด็ก เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง



กิจกรรม ลากเส้นตามเสียงดนดรี






บรรยากาศในการเรียน







 ฝึกร้องเพลง






บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 5
วันพฤหัสบดี ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.


กิจกรรม

Happy Brith Day.อาจารย์เบียร์ มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงนะค่ะ 












บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 4
วันพฤหัสบดี ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.


กิจกรรม

บทบาทครูปฐมัยในห้องเรียนรวม
1. ครูไม่ควรวินิจฉัย
    การวินิจฉัย หมายถึง การตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง (จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้)
2. ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
    -เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
    -ชื่อเปรีบบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
    -เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ
3. ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างที่ผิดปกติ
    -พ่อแม่ของเด็กพิเศษมักทราบว่าลูกของเขามีปัญหา
    -พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้
    -ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ
    -ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้
    -ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา

ครูทำอะไรบ้าง
-ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤตกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
-ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินหรือวินิจฉัย
-สังเกตเด็กอย่างมีระบบ
-จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ

สังเกตอย่างมีระบบ
-ไม่มีใครสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู
-ครูเห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆ ช่วงเวลาที่ยาวนานกว่า
-ต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลินิก มักมุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา

การตรวจสอบ
-จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
-เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
-บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ

ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
-ครูต้องไวต่อความรู้สึกและการตัดสินใจล่วงหน้าได้
-ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญเรื่องต่างๆได้
-พฤติกรรมบางอยางของเด็กไม่ได้ปรากฎให้เห็นเสมอไป

การบันทึกการสังเกต
-การนับอย่างง่ายๆ
-การบันทึกต่อเนื่อง
-การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
การนับอย่างง่ายๆ คือนับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง กี่ครั้งในแต่ละวัน ของระยะในการเกิดพฤติกรรม
การบันทึกต่อเนื่อง คือให้รายละเอียดได้มาก เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ
การบันทึกไม่ต่อเนื่อง คือ บันทึกลงบัตรเล็กๆ เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง

การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
-ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่อง มากกว่าชนิดของความบกพร่อง
-พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ

การตัดสินใจ
-ครูควรตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
-พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่        





กิจกรรมวาดภาพเหมือน บอกถึงความรู้สึกเวลามองดอกลินลี่


  




ฝึกร้องเพลง




บรรยากาศในห้องเรียน