วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2558




บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 8
วันพฤหัสบดี ที่ 5 มีนาคม พ.ศ.2558
เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.


กิจกรรมก่อนเข้าสู่บทเรียน
วาดภาพเหมือน


เนื้อหา

การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ
ทักษะของครูและทัศนคติ

การฝึกเพิ่มเติม
  • อบรมระยะสั้น , สัมมนา
  • สื่อต่างๆ
การเข้าใจภาวะปกติ
  • เด็กคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่างกัน
  • ครูต้องมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ
  • รู้จักเด็กแต่ละคน
  • มองเด็กให้เป็น "เด็ก"
การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
  • การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย
ความพร้อมของเด็ก
  • วุฒิภาวะ (ไม่ค่อยแตกต่างกัน ยกเว้นจะต่างระดับชั้น)
  • แรงจูงใจ
  • โอกาส (เด็กพิเศษมีโอกาสเท่าเทียมกับเด็กปกติ)
การสอนโดยบังเอิญ
  • ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม
  • เด็กเข้าหาครูมากเท่าไหร่ ยิ่งมีโอกาสในการสอนมากขึ้นเท่านั้น
  • ครูต้องพร้อมที่จะพบเด็ก
  • ครูต้องมีความสนใจเด็ก
  • ครูต้องมีความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก
  • ครูต้องมีอุปกรณ์และกิจกรรมล่อใจเด็ก
  • ครูต้องมีความตั้งใจจริงในการช่วยให้เด็กแต่ละคนได้เรียนรู้
  • ครูต้องใช้เวลาในการติดต่อไม่นาน
  • ครูต้องทำให้เป็นเรืองสนุกสนาน
อุปกรณ์
  • มีลักษณะง่ายๆ มีวิธีการเล่นที่ตายตัว
  • ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ของเล่นที่แบ่งแยกเพศเด็ก
  • เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ
  • เด็กปกติเรียนรู้ที่จะช่วยเหลือเด็กพิเศษ
ตารางประจำวัน
  • เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่ทำอยู่เป็นประจำ
  • กิจกรรมต้องเรียงลำดับเป็นขั้นตอนและทำนายได้
  • เด็กจะรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ
  • การสลับกิจกรรมที่อยู่เงียบๆกับกิจกรรมที่เคลื่อนไหวมากๆ
  • คำนึงถึงความพอเหมาะของเวลา
ทัศนคติของครู
      ความยืดหยุ่น
  • การแก้แผนการสอนให้เหมาะกับสถานการณ์
  • ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็ก
  • ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน
การสหวิทยาการ
  • ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคคลในอาชีพอื่นๆ
  • สร้างสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกิจกรรมในห้องเรียน
การเปลี่ยนพฤติกรรมและการเรียนรู้
     เด็กทุกคนสอนได้
  • เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ
  • เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส
     เทคนิคการให้แรงเสริม
     แรงเสริมจากสังคมจากผู้ใหญ่
  • ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กนั้นสำคัญมาก
  • มีแนวโน้มจะเพิ่พฤติกรรมที่ดีของเด็ก
  • หากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤติกรรมที่ดีนั้นๆ ก็จะลดและหายไป
     วิธีการแสดงออกถึงแรงเสริมจากผู้ใหญ่
  • ตอบสนองด้วยวาจา
  • การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก
  • พยักหน้ารับ ยิ้ม ฟัง
  • สัมผัสทางกาย
  • ให้ความช่วยเหลือ , ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
     หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย
  • ครูต้องให้แรงเสริมทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์
  • ครูต้องละเว้นความสนใจทันทีและทุกครั้งที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
  • ครูควรให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์
     การแนะนำหรือบอกบท
  • ย่อยงาน
  • ลำดับความยากง่ายของงาน
  • การเรียงลำดับงานเป็นการเสริมแรงเพื่อให้เด็กค่อยๆก้าวไปสู่ความสำเร็จ
  • การบอกบทจะค่อยๆน้อยลงตามลำดับ
     ขั้นตอนการให้แรงเสริม
  • สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
  • วิเคราะห์งาน กำหนดจุดประสงค์ย่อยๆในงานแต่ละขั้น
  • สอนจากง่ายไปยาก
  • ให้แรงเสริมทันทีเมื่อเด็กทำได้ หรือเมื่อเด็กพยายามอย่างเหมาะสม
  • ลดการบอกบท เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะก้าวไปขั้นต่อไป
  • ให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่สุด
  • ทีละขั้นไม่เร่งรัด "ยิ่งขั้นเล็กเท่าไหร่ยิ่งดีเท่านั้น"
  • ไม่ดุหรือตี
     การกำหนดเวลา
  • จำนวนและความถี่ของแรเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม
     ความต่อเนื่อง
  • พฤติกรรมทุกๆอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยๆหลายๆอย่างรวมกัน เช่น การเข้าห้องน้ำ การนอนพักผ่อน การหยิบและเก็บของ การกลับบ้าน
  • สอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนมาจากข้างหลัง เช่น
          เด็กตับซุป
  • การจับช้อน
  • การตัก
  • การระวังไม่ให้น้ำในช้อนหกก่อนจะเข้าปาก
  • การเอาช้อนและวุปเข้าปากแทนที่จะทำให้หกรดคาง
  • การเอาซุปออกจากช้อนเข้าสู่ปาก
     การลดหรือหยุดแรงเสริม
  • ครูจะงดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
  • ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก
  • เอาอุปกรณ์หรือของเล่นออกไปจากเด็ก
  • เอาเด็กออกจากการเล่น
*ความคงเส้นคงวา*




บรรยากาศในห้องเรียน



  







บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 7
วันพฤหัสบดี ที่ 26 กุมพาพันธ์ พ.ศ.2558
เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.


สอบกลางภาค