วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558




บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 15
วันจันทร์ ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558


สอบร้องเพลง

ดิฉันจับสลากได้ เพลงดวงจันทร์ มีคำร้องดังนี้

เพลงดวงจันทร์
ชื่อผู้แต่ง อ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ
ดวงจันทร์ทอแสงนวลใย
สุกใสอยู่ในท้องฟ้า
เราเห็นดวงจันทรา
แสงพราวตาเวลาค่ำคืน


บรรยากาศในการสอบ




บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 14
วันพฤหัสบดี ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2558
เวลา 13.010 - 16.40 น.


กิจกรรม
     เขียนแผน IEP

     IEP ย่อมาจาก Individualized Education Plan แปลว่า แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคล

แผน IEP

  • แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
  • เพื่อให้เด็กพิเศษทุกคนได้รับการสอน
  • ด้วยการสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อเด็ก
  • โดยระบุเวลาเริ่มต้นเวลาสิ้นสุดการใช้แผน และวิธีการประเมินผลเด็ก
การเขียนแผน IEP
  • คัดแยกเด็กพิเศษ
  • ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
  • ประเมอนพัฒนาการเด็กเป็นระยะ
  • เด็กสามารถทำอะไรได้/ทำอะไรไม่ได้
  • แล้วจึงเขียนแผน IEP
IEP  ประกอบด้วย
  • ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
  • ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
  • ระบุความสามารถของเด็กในปัจจุบัน
  • เป้าหมายระยะยาว/ระยะสั้น
  • ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
  • วิธีการประเมินผล

ประโยชน์ต่อเด็ก

  • ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
  • ได้มีโอกาศพัฒนาตามศักยภาพของตน
  • ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูต้อเนื่องอย่างเหมาะสม
  • ถ้าเด็กเข้าโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ

ประโยชน์ต่อครูผู้สอน

  • ครูใช้ IEP เป็นแนวทางในการจัดแผนการสอนรายบุคคล
  • ครูใช้ IEP กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของครู
  •  ครูใช้ IEP เป็นแนวทางในการฝึกพัฒนาการและติดตามพัฒนาทางการเรียนของเด็ก ครูใช้ IEP 
  • เป็นแนวทางในการรายงานตนหรือแจ้งความก้าวหน้าในการเรียนของเด็กแก่ผู้ปกครอง
  •  ครูใช้ IEP เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการเรียนการสอนกิจกรรม วิธีสอน วิธีจัด ประเมินผล


ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง

  •  ช่วยให้ผู้ปกครองทราบว่าจะติดต่อกับครูคนใด เมื่อต้องการพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาของบุตร
  • ช่วยให้ผู้ปกครองทราบว่าบุตรจะต้องเรียนรู้อะไร อย่างไร ที่สถานศึกษา มีสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา
  • ช่วยให้ผู้ปกครองตั้งความหวังเกี่ยวกับการเรียนรู้ และคาดหวังผลการเรียนรู้ของบุตรอย่างเหมาะสม
  •  ช่วยให้ผู้ปกครองให้ข้อมูลเกี่ยวกับบุตรของตนแก่ครูได้ถูกต้อง
  •  ช่วยให้ผู้ปกครองทราบว่าควรจะฝึกบุตรที่บ้านของตน
  •  ช่วยให้ผู้ปกครองทราบความก้าวหน้าและพัฒนาการของบุตร และสามารถนำมาวางแผนพัฒนาชีวิตบุตรได้อย่างมีเป้าหมาย
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
  1. การรวบววมข้อมูล
  2. การจัดทำแผน
การกำหนดจุดมุ่งหมาย
จุดมุ่งหมายระยะยาว
  • กำหนดให้ชัดเจน
จุดมุ่งหมายระยะสั้น
  • ตั้งอยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
  • เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ภายใน 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
  • จะสอนใคร
  • พฤติกรรมอะไร
  • เมื่อไหร่ ที่ไหน
  • พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
การใช้แผน
  • เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำแผนระยะสั้นไปใช้
  • นำมาเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
  • แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะสมกับเพลง
  • จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
การประเมินผล
  • โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
  • ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล



บรรยากาศในห้องเรียน





บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 13
วันพฤหัสบดี ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2558


วันสงกรานต์




บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 12
วันพฤหัสบดี ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558
เวลา 13.10 - 16.40 น.


กิจกรรม
     วันนี้อาจารย์เฉลยข้อสอบ และแจกสี


เนื้อหา

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
ทักษะพื้นฐานทางการเรียน

เป้าหมาย
  • การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
  • มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
  • เด็กรู้สึกว่า "ฉันทำได้"
  • พัฒนาความกะตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
  • อยากสำรวจ อยากทดลอง
ช่วงความสนใจ
  • ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
  • จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
การเลียนแบบ
การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
  • เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
  • เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
  • คำสั่งยุ่งยากซับว้อนไปหรือไม่
การรับรู้ การเคลื่อนไหว
  • ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น ::::::::> ตอบสนองอย่างเหมาะสม
การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
  • การกรออกน้ำ ตวงน้ำ
  • ต่อบล็อก
  • ศิลปะ
  • มุมบ้าน
  • ช่วยเหลือตนเอง
ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
  • ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่
  • รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก



ความจำ
  • จากการสนทนา
  • เมื่อเช้าหนูทานอะไร
  • แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
  • จำตัวละครในนิทาน
  • จำชื่อครูเพื่อน
  • เล่นเกมทายของที่หายไป
ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
  • จัดกลุ่มเด็ก
  • เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
  • ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
  • ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
  • ใช้อุปกรณ์ทีเด็กคุ้นเคย
  • บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
  • รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
  • มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
  • เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
  • พูดในทางที่ดี
  • จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
  • ทำบทเรียนให้สนุก


บรรยากาศในห้องเรียน


ฝึกร้องเพลง











วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558




บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 11
วันพฤหัสบดี ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2558
เวลา 13.10 - 16.40 น.


สอบเก็บคะแนน










บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 10
วันพฤหัสบดี ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2558
เวลา 13.10 - 16.40 น.

เนื้อหา

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

     ทักษะการช่วยเหลือตนเอง

เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
การกินอยู่
การเข้าห้องน้ำ
การแต่งตัว
กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน

การสร้างความอิสระ
  • เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
  • อยากทำงานตามความสามารถ
  • เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่าหรือผู้ใหญ่
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
  • การได้ทำด้วยตนเอง
  • เชื่อมั่นในตนเอง
  • เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
หัดให้เด็กทำเอง
  • ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
  • ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
  • ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
  • "หนูทำได้"  "หนูยังทำไม่ได้"
จะช่วยเมื่อไหร่
  • เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร, หงุดหงิด, เบื่อ, ไม่สบาย
  • หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
  • เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
  • มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม
ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
  • แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
  • เรียงลำดับตามขั้นตอน
การเข้าส้วม
                                          1. เข้าไปในห้องน้ำ                    7. กดชักโครกหรือตักน้ำราด
                                          2. ดึงกางเกงลงมา                     8. ดึงกางเกงขึ้น
                                          3. ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม               9. ล้างมือ
                                          4. ปัสสาวะหรืออุจจาระ              10. เช็ดมือ
                                          5. ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น          11. เดินออกจากห้องส้วม
                                          6. ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
การวางแผนทีละขั้น
  • แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด
สรุป
  • ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
  • ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
  • ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
  • ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
  • เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ


กิจกรรม ระบายสีวงกลม




บรรยากาศในห้องเรียน




บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 9
วันพฤหัสบดี ที่ 12 มีนาคม พ.ศ.2558
เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.

กิจกรรม
       
          อาจารย์พูดเกี่ยวกับการสอบบรรจุข้าราชการครู โดยอาจารย์แนะนำนักศึกษาให้เตรียมตัว อ่านหนังสือ เพื่อใครสนใจอยากสอบบรรจุข้าราชการ ให้ดูตัวอย่างจากรุ่นพี่เพื่อให้มีแรงบรรดาลใจ

เนื้อหา
          การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
ทักษะภาษา

การวัดความสามารถทางภาษา

  • เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
  • ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
  • ถามหาสิ่งต่างๆไหม
  • บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
  • ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
  • การพูดตกหล่น เช่น หนังสือ เป็น สือ, จาน เป็น จา เป็นต้น
  • การใช้เสียงหนึ่งหนึ่งแทนอีกเสียง เช่น กวาดบ้าน เป็น ฟาดบ้าน
  • ติดอ่าง
การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
  • ไม่สนใจการพูดชัดหรือการออกเสียงไม่ชัด
  • ห้ามบอกเด็กว่า "พูดช้าๆ" "ตามสบาย" "คิดก่อนพูด"
  • อย่าขัดจังหวะเวลาเด็กพูด
  • อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
  • ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
  • เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวกับการได้ยิน
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
  • ทักษะการรับรู้ภาษา
  • การแสดงออกทางภาษา
  • การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
  • การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
  • ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
  • ให้เวลาเด็กได้พูด
  • คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
  • เป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
  • เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังอย่างเดียว
  • ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
  • กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
  • เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
  • ใช้ความถามปลายเปิด
  • เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
  • ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
กิจกรรมบำบัดเด็กออทิสติก









ภาพบรรยากาศในห้องเรียน






วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2558




บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 8
วันพฤหัสบดี ที่ 5 มีนาคม พ.ศ.2558
เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.


กิจกรรมก่อนเข้าสู่บทเรียน
วาดภาพเหมือน


เนื้อหา

การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ
ทักษะของครูและทัศนคติ

การฝึกเพิ่มเติม
  • อบรมระยะสั้น , สัมมนา
  • สื่อต่างๆ
การเข้าใจภาวะปกติ
  • เด็กคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่างกัน
  • ครูต้องมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ
  • รู้จักเด็กแต่ละคน
  • มองเด็กให้เป็น "เด็ก"
การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
  • การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย
ความพร้อมของเด็ก
  • วุฒิภาวะ (ไม่ค่อยแตกต่างกัน ยกเว้นจะต่างระดับชั้น)
  • แรงจูงใจ
  • โอกาส (เด็กพิเศษมีโอกาสเท่าเทียมกับเด็กปกติ)
การสอนโดยบังเอิญ
  • ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม
  • เด็กเข้าหาครูมากเท่าไหร่ ยิ่งมีโอกาสในการสอนมากขึ้นเท่านั้น
  • ครูต้องพร้อมที่จะพบเด็ก
  • ครูต้องมีความสนใจเด็ก
  • ครูต้องมีความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก
  • ครูต้องมีอุปกรณ์และกิจกรรมล่อใจเด็ก
  • ครูต้องมีความตั้งใจจริงในการช่วยให้เด็กแต่ละคนได้เรียนรู้
  • ครูต้องใช้เวลาในการติดต่อไม่นาน
  • ครูต้องทำให้เป็นเรืองสนุกสนาน
อุปกรณ์
  • มีลักษณะง่ายๆ มีวิธีการเล่นที่ตายตัว
  • ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ของเล่นที่แบ่งแยกเพศเด็ก
  • เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ
  • เด็กปกติเรียนรู้ที่จะช่วยเหลือเด็กพิเศษ
ตารางประจำวัน
  • เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่ทำอยู่เป็นประจำ
  • กิจกรรมต้องเรียงลำดับเป็นขั้นตอนและทำนายได้
  • เด็กจะรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ
  • การสลับกิจกรรมที่อยู่เงียบๆกับกิจกรรมที่เคลื่อนไหวมากๆ
  • คำนึงถึงความพอเหมาะของเวลา
ทัศนคติของครู
      ความยืดหยุ่น
  • การแก้แผนการสอนให้เหมาะกับสถานการณ์
  • ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็ก
  • ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน
การสหวิทยาการ
  • ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคคลในอาชีพอื่นๆ
  • สร้างสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกิจกรรมในห้องเรียน
การเปลี่ยนพฤติกรรมและการเรียนรู้
     เด็กทุกคนสอนได้
  • เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ
  • เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส
     เทคนิคการให้แรงเสริม
     แรงเสริมจากสังคมจากผู้ใหญ่
  • ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กนั้นสำคัญมาก
  • มีแนวโน้มจะเพิ่พฤติกรรมที่ดีของเด็ก
  • หากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤติกรรมที่ดีนั้นๆ ก็จะลดและหายไป
     วิธีการแสดงออกถึงแรงเสริมจากผู้ใหญ่
  • ตอบสนองด้วยวาจา
  • การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก
  • พยักหน้ารับ ยิ้ม ฟัง
  • สัมผัสทางกาย
  • ให้ความช่วยเหลือ , ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
     หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย
  • ครูต้องให้แรงเสริมทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์
  • ครูต้องละเว้นความสนใจทันทีและทุกครั้งที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
  • ครูควรให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์
     การแนะนำหรือบอกบท
  • ย่อยงาน
  • ลำดับความยากง่ายของงาน
  • การเรียงลำดับงานเป็นการเสริมแรงเพื่อให้เด็กค่อยๆก้าวไปสู่ความสำเร็จ
  • การบอกบทจะค่อยๆน้อยลงตามลำดับ
     ขั้นตอนการให้แรงเสริม
  • สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
  • วิเคราะห์งาน กำหนดจุดประสงค์ย่อยๆในงานแต่ละขั้น
  • สอนจากง่ายไปยาก
  • ให้แรงเสริมทันทีเมื่อเด็กทำได้ หรือเมื่อเด็กพยายามอย่างเหมาะสม
  • ลดการบอกบท เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะก้าวไปขั้นต่อไป
  • ให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่สุด
  • ทีละขั้นไม่เร่งรัด "ยิ่งขั้นเล็กเท่าไหร่ยิ่งดีเท่านั้น"
  • ไม่ดุหรือตี
     การกำหนดเวลา
  • จำนวนและความถี่ของแรเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม
     ความต่อเนื่อง
  • พฤติกรรมทุกๆอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยๆหลายๆอย่างรวมกัน เช่น การเข้าห้องน้ำ การนอนพักผ่อน การหยิบและเก็บของ การกลับบ้าน
  • สอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนมาจากข้างหลัง เช่น
          เด็กตับซุป
  • การจับช้อน
  • การตัก
  • การระวังไม่ให้น้ำในช้อนหกก่อนจะเข้าปาก
  • การเอาช้อนและวุปเข้าปากแทนที่จะทำให้หกรดคาง
  • การเอาซุปออกจากช้อนเข้าสู่ปาก
     การลดหรือหยุดแรงเสริม
  • ครูจะงดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
  • ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก
  • เอาอุปกรณ์หรือของเล่นออกไปจากเด็ก
  • เอาเด็กออกจากการเล่น
*ความคงเส้นคงวา*




บรรยากาศในห้องเรียน



  







บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 7
วันพฤหัสบดี ที่ 26 กุมพาพันธ์ พ.ศ.2558
เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.


สอบกลางภาค




วันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558




บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 6
วันพฤหัสบดี ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.


กิจกรรม

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กกพิเศษ
ทักษะทางสังคม
           เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อแม่ สภาพแวดล้อมไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข

กิจกรรมการเล่น
           การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทกษะทางสังคม เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ ช่วงแรๆ เด็กพิเศษจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน แต่จะมองเป็นสิ่งสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง

ยุทธศาสตร์การสอน
           เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีการเล่น ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง ครูสังเกตแล้วจดบันทึก ทำแผน IEP

การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
          วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง ควรคำนึงถึงเด็กทุกคน ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน "ครู" ให้เด็กพิเศษ

ครูปฏิบัติอย่างไรเวลาเด็กเล่น
           อยู่ใกล้ๆแล้วเฝ้ามองอย่างสนใจ ยิ้มและพยักหน้าให้เวลาเด็กหันมามองครู ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม

การให้แรงเสริมทางสังคในบริบทที่เด็กเล่น
           ครูพูดชักชวนให้เด็กเล่นร่วมกับเพื่อน ทำโดย "การพูดนำของครู"

ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
           ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ ให้โอกาสเด็ก เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง



กิจกรรม ลากเส้นตามเสียงดนดรี






บรรยากาศในการเรียน







 ฝึกร้องเพลง






บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 5
วันพฤหัสบดี ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.


กิจกรรม

Happy Brith Day.อาจารย์เบียร์ มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงนะค่ะ 












บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 4
วันพฤหัสบดี ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.


กิจกรรม

บทบาทครูปฐมัยในห้องเรียนรวม
1. ครูไม่ควรวินิจฉัย
    การวินิจฉัย หมายถึง การตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง (จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้)
2. ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
    -เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
    -ชื่อเปรีบบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
    -เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ
3. ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างที่ผิดปกติ
    -พ่อแม่ของเด็กพิเศษมักทราบว่าลูกของเขามีปัญหา
    -พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้
    -ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ
    -ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้
    -ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา

ครูทำอะไรบ้าง
-ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤตกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
-ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินหรือวินิจฉัย
-สังเกตเด็กอย่างมีระบบ
-จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ

สังเกตอย่างมีระบบ
-ไม่มีใครสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู
-ครูเห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆ ช่วงเวลาที่ยาวนานกว่า
-ต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลินิก มักมุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา

การตรวจสอบ
-จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
-เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
-บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ

ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
-ครูต้องไวต่อความรู้สึกและการตัดสินใจล่วงหน้าได้
-ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญเรื่องต่างๆได้
-พฤติกรรมบางอยางของเด็กไม่ได้ปรากฎให้เห็นเสมอไป

การบันทึกการสังเกต
-การนับอย่างง่ายๆ
-การบันทึกต่อเนื่อง
-การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
การนับอย่างง่ายๆ คือนับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง กี่ครั้งในแต่ละวัน ของระยะในการเกิดพฤติกรรม
การบันทึกต่อเนื่อง คือให้รายละเอียดได้มาก เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ
การบันทึกไม่ต่อเนื่อง คือ บันทึกลงบัตรเล็กๆ เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง

การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
-ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่อง มากกว่าชนิดของความบกพร่อง
-พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ

การตัดสินใจ
-ครูควรตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
-พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่        





กิจกรรมวาดภาพเหมือน บอกถึงความรู้สึกเวลามองดอกลินลี่


  




ฝึกร้องเพลง




บรรยากาศในห้องเรียน