วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558


บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 14
วันพฤหัสบดี ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2558
เวลา 13.010 - 16.40 น.


กิจกรรม
     เขียนแผน IEP

     IEP ย่อมาจาก Individualized Education Plan แปลว่า แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคล

แผน IEP

  • แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
  • เพื่อให้เด็กพิเศษทุกคนได้รับการสอน
  • ด้วยการสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อเด็ก
  • โดยระบุเวลาเริ่มต้นเวลาสิ้นสุดการใช้แผน และวิธีการประเมินผลเด็ก
การเขียนแผน IEP
  • คัดแยกเด็กพิเศษ
  • ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
  • ประเมอนพัฒนาการเด็กเป็นระยะ
  • เด็กสามารถทำอะไรได้/ทำอะไรไม่ได้
  • แล้วจึงเขียนแผน IEP
IEP  ประกอบด้วย
  • ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
  • ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
  • ระบุความสามารถของเด็กในปัจจุบัน
  • เป้าหมายระยะยาว/ระยะสั้น
  • ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
  • วิธีการประเมินผล

ประโยชน์ต่อเด็ก

  • ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
  • ได้มีโอกาศพัฒนาตามศักยภาพของตน
  • ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูต้อเนื่องอย่างเหมาะสม
  • ถ้าเด็กเข้าโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ

ประโยชน์ต่อครูผู้สอน

  • ครูใช้ IEP เป็นแนวทางในการจัดแผนการสอนรายบุคคล
  • ครูใช้ IEP กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของครู
  •  ครูใช้ IEP เป็นแนวทางในการฝึกพัฒนาการและติดตามพัฒนาทางการเรียนของเด็ก ครูใช้ IEP 
  • เป็นแนวทางในการรายงานตนหรือแจ้งความก้าวหน้าในการเรียนของเด็กแก่ผู้ปกครอง
  •  ครูใช้ IEP เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการเรียนการสอนกิจกรรม วิธีสอน วิธีจัด ประเมินผล


ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง

  •  ช่วยให้ผู้ปกครองทราบว่าจะติดต่อกับครูคนใด เมื่อต้องการพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาของบุตร
  • ช่วยให้ผู้ปกครองทราบว่าบุตรจะต้องเรียนรู้อะไร อย่างไร ที่สถานศึกษา มีสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา
  • ช่วยให้ผู้ปกครองตั้งความหวังเกี่ยวกับการเรียนรู้ และคาดหวังผลการเรียนรู้ของบุตรอย่างเหมาะสม
  •  ช่วยให้ผู้ปกครองให้ข้อมูลเกี่ยวกับบุตรของตนแก่ครูได้ถูกต้อง
  •  ช่วยให้ผู้ปกครองทราบว่าควรจะฝึกบุตรที่บ้านของตน
  •  ช่วยให้ผู้ปกครองทราบความก้าวหน้าและพัฒนาการของบุตร และสามารถนำมาวางแผนพัฒนาชีวิตบุตรได้อย่างมีเป้าหมาย
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
  1. การรวบววมข้อมูล
  2. การจัดทำแผน
การกำหนดจุดมุ่งหมาย
จุดมุ่งหมายระยะยาว
  • กำหนดให้ชัดเจน
จุดมุ่งหมายระยะสั้น
  • ตั้งอยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
  • เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ภายใน 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
  • จะสอนใคร
  • พฤติกรรมอะไร
  • เมื่อไหร่ ที่ไหน
  • พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
การใช้แผน
  • เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำแผนระยะสั้นไปใช้
  • นำมาเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
  • แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะสมกับเพลง
  • จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
การประเมินผล
  • โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
  • ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล



บรรยากาศในห้องเรียน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น